เมนู

ฉะนั้น สิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่มีราคาถึงบาท ซึ่งเจ้าของทำให้มีราคา
หย่อนไป เพราะการใช้สอย โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ พระวินัยธร ไม่
ควรปรับภิกษุผู้ลักภัณฑะนั้นถึงปาราชิก. พึงสอดส่องถึงการใช้สอยอย่างนี้.
พระวินัยธรผู้ฉลาด พึงสอบสวนฐานะ 5 เหล่านี้ อย่างนี้แล้วพึง
ทรงไว้ซึ่งอรรถคดี คือ พึงตั้งไว้ซึ่งอาบัติ ครุกาบัติหรือลหุกาบัติ ในสถาน
ที่ควรแล.
วินิจฉัยบทเหล่านี้ คือ ตู่ ลัก ฉ้อ ให้อิริยาบถกำเริบ ให้เคลื่อน
จากฐาน ให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย จบแล้ว.


[

อรรถาธิบายทรัพย์ที่ควรแก่ทุติยปาราชิก

]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกบทมีว่า ยถารูเป อทินฺ-
นาทาเน
เป็นต้น จึงตรัสคำว่า ยถารูปนฺนาม เป็นต้นนี้. จะวินิจฉัย
ในคำว่า ยถารูปํ เป็นต้นนั้น :- ทรัพย์มีตามกำเนิด ชื่อว่า ทรัพย์เห็น
ปานใด. ก็ทรัพย์มีตามกำเนิดนั้น ย่อมมีตั้งแต่บาทหนึ่งขึ้นไป; เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บาทหนึ่งก็ดี ควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกินกว่าบาท
หนึ่งก็ดี. ในศัพท์ว่า ปาทเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเฉพาะ
อกัปปิยภัณฑ์ เท่าส่วนที่ 4 แห่งกหาปณะ ด้วยปาทศัพท์ ทรงแสดงกัปปิย-
ภัณฑ์ ได้ราคาบาทหนึ่ง ด้วยปาทารหศัพท์ ทรงแสดงกัปปิยภัณฑ์และอกัป-
ปิยภัณฑ์แม้ทั้งสองอย่าง ด้วยอติเรกปาทศัพท์. วัตถุพอแก่ทุติยปาราชิกเป็น
อันทรงแสดงแล้ว โดยอาการทั้งปวง ด้วยศัพท์เพียงเท่านี้. พระราชาแห่ง
ปฐพีทั้งสิ้น คือ เป็นจักรพรรดิในทวีป เช่นพระเจ้าอโศก ชื่อพระราชาทั่ว
ทั้งแผ่นดิน, ก็หรือว่า ผู้ใดแม้อื่น ซึ่งเป็นพระราชาในทวีปอันหนึ่ง เช่น
พระราชาสิงหล ผู้นั้น ก็ชื่อพระราชาทั่วทั้งแผ่นดิน.

พระราชาผู้เป็นใหญ่เฉพาะประเทศแห่งทวีปอันหนึ่ง ดังพระเจ้าพิมพิ-
สารและพระเจ้าปเสนทิเป็นต้น ชื่อพระราชาเฉพาะประเทศ. ชนเหล่าใด ปก-
ครองมณฑลอันหนึ่ง ๆ แม้ในประเทศแห่งทวีปชนเหล่านั้น ชื่อผู้ครองมณฑล.
เจ้าของแห่งบ้านตำบลน้อย ๆ ในระหว่างแห่งพระราชาสองพระองค์
ชื่อผู้ครองระหว่างแดน. อำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี ชื่อผู้พิพากษา. ผู้พิพากษา
เหล่านั้น นั่งในศาลาธรรมสภา พิพากษาโทษมีตัดมือและเท้าของพวกโจร
เป็นต้น ตามสมควรแก่ความผิด. ส่วนชนเหล่าใดมีฐานันดรเป็นอำมาตย์หรือ
ราชบุตร เป็นผู้ทำความผิด, ผู้พิพากษาย่อมเสนอชนเหล่านั้นแด่พระราชา
หาได้วินิจฉัยคดีที่หนักเองไม่. อำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งได้ฐานันดร ชื่อว่ามหาอำ-
มาตย์. แม้มหาอำมาตย์เหล่านั้น ย่อมนั่งทำราชกิจ ในคามหรือในนิคมนั้น ๆ.
ด้วยบทว่า เย วา ปน (นี้) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า
ชนเหล่าใดแม้อื่น เป็นผู้อาศัยราชสกุล หรืออาศัยความเป็นใหญ่ของตนเอง
ย่อมสั่งบังคับการตัดการทำลายได้, ชนเหล่านั้นทั้งหมด จัดเป็นพระราชาใน
อรรถนี้ ( ด้วย ).
บทว่า หเนยฺยุํ ได้แก่ พึงโบยและพึงตัด.
บทว่า ปพฺพาเชยฺยุํ ได้แก่ พึงเนรเทศเสีย. และพึงกล่าวปริภาษ
อย่างนี้ว่า เจ้าเป็นโจร ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า นั่นเป็นการด่า.
สองบทว่า ปุริมํ อุปาทาย มีความว่า เล็งถึงบุคคลผู้เสพเมถุน-
ธรรม ต้องอาบัติปาราชิก. คำที่เหลือนับว่าแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น เพราะมีนัย
ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น และเพราะมีเนื้อความเฉพาะบทตื้น ๆ ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศแล้ว ตาม
ลำดับบทอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ จึงทรงตั้งมาติกา โดยนัยเป็นต้นว่า ภุมฺมฏฺฐํ
ถลฏฺฐํ
แล้วตรัสวิภังค์แห่งบทภาชนีย์นั้น โดยนัยมีคำว่า ภุมฺมฏฺฐํ นาม
ภณฺฑํ ภูมิยํ นิกฺขิตฺตํ โหติ
เป็นต้น เพื่อแสดงภัณฑะที่จะพึงถือเอา
ซึ่งพระองค์ทรงแสดงการถือเอา โดยสังเขป ด้วยหกบทมีบทว่า อาทิเยยฺย
เป็นต้นแล้ว ทรงแสดงโดยสังเขปเหมือนกันว่า บาทหนึ่ง ก็ดี ควรแก่บาท
หนึ่ง ก็ดี เกินกว่าบาทหนึ่ง ก็ดี โดยพิสดาร โดยอาการที่ภัณฑะนั้นตั้งอยู่
ในที่ใด ๆ จึงถึงความถือเอาได้ เพื่อปิดโอกาสแห่งเลศของปาปภิกษุทั้งหลาย
ในอนาคต. วินิจฉัยกถา พร้อมด้วยวรรณนาบทที่ไม่ตื้น ในคำว่า นิกฺขิตฺตํ
เป็นต้นนั้น พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า นิกฺขิตฺตํ ได้แก่ ที่ฝังเก็บไว้ในแผ่นดิน.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ ได้แก่ ที่เขาปกปิดไว้ ด้วยวัตถุมีดินและอิฐ
เป็นต้น.
ข้อว่า ภุมฺมฏฺฐํ ภณฺฑํ ฯปฯ คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส
มีความว่า ภิกษุใดรู้ด้วยอุบายบางอย่างนั่นเทียว ซึ่งภัณฑะนั้นที่ชื่อว่าตั้งอยู่
ในแผ่นดิน เพราะเป็นของที่เขาฝัง หรือปกปิดตั้งไว้อย่างนั้น เป็นผู้มีไถยจิตว่า
เราจักลัก แล้วลุกขึ้นไปในราตรีภาค. ภิกษุนั้น แม้ไปไม่ถึงที่แห่งภัณฑะ
ย่อมต้องทุกกฏ เพราะกายวิการ และวจีวิการทั้งปวง.

[

อรรถาธิบายอาบัติที่เป็นบุพประโยคแห่งปาราชิก

]
ถามว่า ต้องอย่างไร ?
แก้ว่า ต้องอย่างนี้ คือ :- จริงอยู่ ภิกษุนั้นเมื่อลุกขึ้น เพื่อต้องการ
จะลักทรัพย์นั้น ให้อวัยวะน้อยใหญ่ใด ๆ เคลื่อนไหว ย่อมต้องทุกกฏใน